Category Archives: อำเภอบางเสาธง

อำเภอบางเสาธง

อำเภอบางเสาธง is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.

อำเภอบางเสาธง เป็นอำเภอใหม่ล่าสุดของจังหวัดสมุทรปราการ

ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา

อำเภอบางเสาธง
แผนที่จังหวัดสมุทรปราการ เน้นอำเภอบางเสาธง
คำขวัญ: บางเสาธงถิ่นชานเมือง รุ่งเรืองเศรษฐกิจ
ผลผลิตการเกษตร เขตอุตสาหกรรม
เลิศล้ำศาสนา รักษาวัฒนธรรม
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°35′42″N 100°49′50″E
อักษรไทย อำเภอบางเสาธง
อักษรโรมัน Amphoe Bang Sao Thong
จังหวัด สมุทรปราการ
พื้นที่
 • ทั้งหมด 114.79 ตร.กม. (44.32 ตร.ไมล์)
ประชากร (2561)
 • ทั้งหมด 78,367
 • ความหนาแน่น 682.69 คน/ตร.กม. (1,768.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 10570
รหัสภูมิศาสตร์ 1106
ที่อยู่
ที่ว่าการ
ที่ว่าการอำเภอบางเสาธง เลขที่ 100 หมู่ที่ 7 ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 10570
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บางเสาธง เป็นอำเภอใหม่ล่าสุดของจังหวัดสมุทรปราการ แยกพื้นที่การปกครองบางส่วนจากอำเภอบางพลี

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำภอบางเสาธง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตลาดกระบัง (กรุงเทพมหานคร)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางบ่อ มีคลองกาหลง คลองท่าข้าม คลองชวดใหญ่ คลองบางเซา คลองสนามพลีเก่า คลองสนามพลี คลองสำโรง คลองกะลาวน คลองหนามแดง คลองสกัดห้าสิบ และคลองหัวเกลือเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางบ่อ มีคลองหัวเกลือ คลองเจริญราษฎร์ และคลองร้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบางพลี มีคลองร้อย คลองโก่งประทุน คลองสำโรง คลองเสาระหงษ์ ถนนวัดศรีวารีน้อย คลองบางนา และคลองหนองงูเห่าเป็นเส้นแบ่งเขต

ที่มาของชื่ออำเภอ[แก้]

ในอดีตท้องที่ของอำเภอบางเสาธงเป็นพื้นที่น้ำทะเลท่วมถึงมาก่อน เป็นที่อยู่อาศัยของจระเข้น้ำเค็มจำนวนมาก ทำให้ขุดพบโครงกระดูกและส่วนหัวอยู่เป็นเนืองนิตย์ จึงมีเรียกการคลองที่มีจระเข้ชุกชุมว่า “คลองจรเข้” ภายหลังจึงได้เป็นชื่อของตำบลคือ ตำบลจรเข้ แล้วมาแยกเป็นตำบลศีรษะจรเข้น้อย[1] และตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่[2] ส่วนคำว่า “บางเสาธง” นั้นมีที่มาจากการทำเกษตรกรรม ในอดีตนั้นจะใช้ธงเป็นการบอกเวลาพักและยังใช้เป็นแนวของลำน้ำในการสัญจรอีกด้วย[3]

ประวัติ[แก้]

ส่วนนี้ตั้งแต่ตั้งกิ่งอำเภอบางเสาธง (พ.ศ. 2538) จนถึงปัจจุบัน

  • วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2538 แบ่งพื้นที่ตำบลบางเสาธง ตำบลศีรษะจรเข้น้อย และตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอบางเสาธง ขึ้นกับอำเภอบางพลี พร้อมกับโอนสุขาภิบาลบางเสาธงจากอำเภอบางพลีมาขึ้นกับกิ่งอำเภอบางเสาธง[4]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางเสาธงเป็นเทศบาลตำบลบางเสาธง
  • วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550 ยกฐานะเป็นอำเภอบางเสาธง[5]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอบางเสาธงแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน รวม 38 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บางเสาธง (Bang Sao Thong) 17 หมู่บ้าน
2. ศีรษะจรเข้น้อย (Sisa Chorakhe Noi) 12 หมู่บ้าน
3. ศีรษะจรเข้ใหญ่ (Sisa Chorakhe Yai) 9 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอบางเสาธงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

การเกษตรกรรม[แก้]

  • การเพาะปลูกข้าว ถือเป็นการทำการเกษตรส่วนใหญ่ของตำบลบางเสาธง
  • การปลูกผักกระเฉดและเลี้ยงปลาเบญจพรรณ ถือว่าเป็นการทำการเกษตรส่วนใหญ่ของตำบลศีรษะจรเข้น้อยและตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่[6]

การคมนาคม[แก้]

อำเภอบางเสาธงมีถนนสายหลัก ได้แก่

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

  • วัดบัวโรย
  • วัดหัวคู้ (หลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควา)
  • วัดจรเข้ใหญ่
  • วัดศรีวารีน้อย
  • วัดมงคลนิมิตร (หลวงพ่อเกษ)

ดูเพิ่ม[แก้]

 

ตำบลบางเสาธง แผ่นใส สีใสกระจก

ตำบลศีรษะจรเข้น้อย หลังคากันสาด โปร่งแสง 

ตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ หลังคา พียู โฟม