Category Archives: อำเภอบางพลี

อำเภอบางพลี

อำเภอบางพลี   is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.

อำเภอบางพลี เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ

ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา

อำเภอบางพลี
แผนที่จังหวัดสมุทรปราการ เน้นอำเภอบางพลี
คำขวัญ: ร่วมบุญบัวหลวง หวานมะม่วงน้ำดอกไม้
ไหว้หลวงพ่อโตศักดิ์สิทธิ์ ยอดปลาสลิดบางพลี
ผ่องปฐพีสุวรรณภูมิ
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°36′21″N 100°42′22″E
อักษรไทย อำเภอบางพลี
อักษรโรมัน Amphoe Bang Phli
จังหวัด สมุทรปราการ
พื้นที่
 • ทั้งหมด 260.0 ตร.กม. (100.4 ตร.ไมล์)
ประชากร (2561)
 • ทั้งหมด 261,033
 • ความหนาแน่น 1,003.97 คน/ตร.กม. (2,600.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 10540, 10543 (เฉพาะภายในอาคารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตำบลหนองปรือ)
รหัสภูมิศาสตร์ 1103
ที่อยู่
ที่ว่าการ
ที่ว่าการอำเภอบางพลี
เลขที่ 15 หมู่ที่ 8 ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บางพลี เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ตั้งของโครงการสร้างศูนย์ที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุแบบครบวงจร และเป็นที่ตั้งของสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ประวัติศาสตร์[แก้]

  • พ.ศ. ………. ตั้งอำเภอบางพลี
  • วันที่ 1 มกราคม 2486 จังหวัดสมุทรปราการได้ถูกยุบลงเนื่องจากขณะนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอบางพลีจึงย้ายไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร[1]
  • วันที่ 10 พฤษภาคม 2489 ตั้งจังหวัดสมุทรปราการขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จึงทำให้อำเภอบางพลีกลับมาขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการเหมือนเดิม[2]
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลบางพลีในท้องที่บางส่วนของตำบลบางพลี[3]
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2528 จัดตั้งสุขาภิบาลบางเสาธงในท้องที่บางส่วนของตำบลบางเสาธงและบางส่วนของตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่[4]
  • วันที่ 1 เมษายน 2538 แบ่งพื้นที่ตำบลบางเสาธง ตำบลศีรษะจรเข้น้อย และตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอบางเสาธง ขึ้นกับอำเภอบางพลี พร้อมกับโอนสุขาภิบาลบางเสาธงไปขึ้นกับกิ่งอำเภอบางเสาธง[5]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางพลีเป็นเทศบาลตำบลบางพลี
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอบางเสาธงเป็น อำเภอบางเสาธง[6]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตลาดกระบัง (กรุงเทพมหานคร)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางเสาธง มีถนนเข้าวัดหัวคู้ คลองหนองงูเห่า คลองบางนา ถนนวัดศรีวารีน้อย คลองเสาระหงษ์ คลองสำโรง คลองโก่งประทุน คลองลาดหวาย และคลองโก่งประทุนเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางบ่อและอำเภอเมืองสมุทรปราการ มีคลองโก่งประทุนและคลองสามเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ เขตบางนา และเขตประเวศ (กรุงเทพมหานคร) มีคลองบางเหี้ยน้อย คลองบางกระบือ คลองกู้พารา คลองทับนาง คลองสำโรง ถนนศรีนครินทร์ คลองหนองกระทุ่ม คลองบางนา (สาหร่าย) คลองหนองตาดำ คลองปลัดเปรียง คลองต้นตาล แนวคันนาแบ่งเขตระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ คลองสลุด คลองปากน้ำ คลองสิงห์โต คลองขันแตก และคลองตาพุกเป็นเส้นแบ่งเขต[ต้องการอ้างอิง]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอบางพลีแบ่งเขตการปกครองย่อย ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน รวม 83 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บางพลีใหญ่ (Bang Phli Yai) 23 หมู่บ้าน 4. บางโฉลง (Bang Chalong) 11 หมู่บ้าน
2. บางแก้ว (Bang Kaeo) 16 หมู่บ้าน 5. ราชาเทวะ (Racha Thewa) 15 หมู่บ้าน
3. บางปลา (Bang Pla) 15 หมู่บ้าน 6. หนองปรือ (Nong Prue) 3 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอบางพลีประกอบด้วยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองบางแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางแก้วทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางพลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพลีใหญ่ (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 6–11), ตำบลบางปลา (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 11) และตำบลบางโฉลง (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 3)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพลีใหญ่ (เฉพาะหมู่ที่ 1–5, 12–23 และบางส่วนของหมู่ที่ 6–11)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปลา (เฉพาะหมู่ที่ 1–10, 12–15 และบางส่วนของหมู่ที่ 11)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางโฉลง (เฉพาะหมู่ที่ 1–2, 4–11 และบางส่วนของหมู่ที่ 3)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลราชาเทวะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลราชาเทวะทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปรือทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

บุคคลที่มีชื่อเสียงของอำเภอบางพลี[แก้]

  • นายฉาย รุ่งเรือง และนางขาบ รุ่งเรือง คหบดีชาวบางนา กรุงเทพมหานคร ซึ่งมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่อำเภอบางพลี และได้บริจาคทรัพย์เพื่อการสาธารณกุศลเป็นจำนวนมาก เช่น วัดบางพลีใหญ่ใน เป็นต้น

การคมนาคม[แก้]

อำเภอบางพลีมีถนนสายหลัก ได้แก่

ถนนสายรอง ได้แก่

  • ถนนวัดหนามแดง (ทางหลวงชนบทหมายเลข สป.4006)
  • ถนนจตุรโชคชัย (ซอยวัดหลวงพ่อโต)
  • ถนนวัดศรีวารีน้อย (ทางหลวงชนบทหมายเลข สป.2001)
  • ถนนจรรยวรรธ (รามคำแหง 2)
  • ถนนวัดบางปลา
  • ซอยวัดบางโฉลงนอก
  • ซอยบางปลา 2 (ธนสิทธิ์)
  • ถนนบัวนครินทร์
  • ซอยขจรวิทย์
  • ซอยที่ดินไท
  • ซอยบุญธรรมอนุสรณ์

ตำบลบางปลา แผ่นใส สีใสกระจก

ตำบลบางพลีใหญ่ หลังคากันสาด โปร่งแสง 

ตำบลบางแก้ว หลังคา พียู โฟม

ตำบลบางโฉลง แผ่นใส สีขาวขุ่น 

ตำบลราชาเทวะ แพนเนล พียู ทำฝ้า-เพดาน ทำฝาผนัง-พาร์ติชั่น

ตำบลหนองปรือ หลังคา พียู ลายไม้

ถนนเทพารักษ์ หลังคา แซนวิช พียูโฟม