Category Archives: ตำบลบางกระทึก
ตำบลบางกระทึก
ตำบลบางกระทึก is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address the keyword name in category.
ตำบลบางกระทึก Tambon Bang Krathuek is one of 10 sub-districts of Sam Phran District (อำเภอสามพราน).
Sam Phran District (อำเภอสามพราน) is one of 6 districts of Nakhon Pathom Province (จังหวัดนครปฐม).
เอ็มเค เมทัลชีท
อำเภอสามพราน
|
|
---|---|
คำขวัญ: เมืองสามนายพราน พุทธสถานวัดไร่ขิง งามยิ่งสวนสามพราน ถิ่นฐานผลไม้ น้ำใจงดงาม ลือนามตลาดดอนหวาย เกรียงไกรนายร้อยตำรวจ ประกวดราชินีช้าง | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°43′24″N 100°13′0″E | |
อักษรไทย | อำเภอสามพราน |
อักษรโรมัน | Amphoe Sam Phran |
จังหวัด | นครปฐม |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 249.347 ตร.กม. (96.273 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 211,223 |
• ความหนาแน่น | 847.10 คน/ตร.กม. (2,194.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 73110, 73160 (เฉพาะตำบลอ้อมใหญ่), 73210 (เฉพาะตำบลทรงคนอง บางกระทึก บางเตย และไร่ขิง), 73220 (เฉพาะตำบลกระทุ่มล้ม) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7306 |
ที่อยู่ ที่ว่าการ |
ที่ว่าการอำเภอสามพราน เลขที่ 1 หมู่ที่ 7 ตำบลสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73110 |
อำเภอสามพราน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครปฐม และเป็นอำเภอที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของจังหวัด รองจากอำเภอเมืองนครปฐม มีแม่น้ำนครชัยศรีไหลผ่าน
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอสามพรานตั้งอยู่ทางทิศใต้สุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอนครชัยศรีและอำเภอพุทธมณฑล
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตทวีวัฒนา และ เขตหนองแขม (กรุงเทพมหานคร)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอกระทุ่มแบนและอำเภอบ้านแพ้ว (จังหวัดสมุทรสาคร)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบางแพ (จังหวัดราชบุรี) และอำเภอเมืองนครปฐม
ที่มาของชื่ออำเภอ[แก้]
มีตำนานเล่าต่อกันมาว่าเดิมท้องที่เหล่านี้เป็นป่ารกชัฏ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด รวมทั้งเป็นที่ชุมนุมของช้างโขลงใหญ่ด้วย ช้างโขลงนี้ชอบลงมาหากินและเหยียบย่ำจนเส้นทางกลายเป็นทางน้ำและลำคลอง จนในที่สุดชาวบ้านในสมัยนั้นได้เรียกกันว่า “คลองบางช้าง” และในบริเวณนั้นก็ได้กลายเป็นชื่อเรียกตำบลมาจนถึงปัจจุบันนี้ คือ “ตำบลบางช้าง” สำหรับโขลงช้างที่หากินในบริเวณเขตบางช้างนั้น หัวหน้าโขลงช้างเกิดตกมัน ดุร้ายมาก และได้สร้างความเสียหายโดยออกอาละวาดทำลายพืชผลของชาวบ้านจนชาวบ้านทนไม่ไหว ได้ร่วมมือกันปราบเจ้าช้างตกมันเชือกนั้น แต่ทว่าช้างตกมันเชือกนี้มีกำลังเหลือหลาย ชาวบ้านไม่สามารถปราบได้ถึงแม้จะพยายามสักเพียงใด
ในขณะนั้นได้มีนายพรานสามคนเดินทางมายังคลองปากลัด (ปัจจุบันเรียกว่า “วัดท่าข้าม”) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเขตตำบลบางช้างมากนัก นายพรานสามคนได้เดินทางลัดคลองท่านาไปยังบริเวณที่โขลงช้างนั้นอาศัยอยู่ นายพรานทั้งสามเปรียบเสมือนอัศวินม้าขาวของชาวบ้านคลองบางช้าง ได้ทำการปราบช้างตกมันเชือกนั้นโดยใช้ความเชี่ยวชาญและความสามัคคี จนในที่สุดก็สามารถปราบช้างตกมันได้สำเร็จ ชาวบ้านจึงได้เรียกบริเวณที่นายพรานทั้งสามปราบช้างได้สำเร็จว่า “สามพราน” ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า “ตำบลสามพราน”่
ประวัติศาสตร์[แก้]
ในอดีตอำเภอสามพรานนั้นมีชื่อเรียกว่า อำเภอตลาดใหม่ ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2439 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสร้างขึ้นในที่ดินของพระยาสุนทรบุรีศรีพิชัยสงครามรามภักดีสุริยะพาหะ (อี้ กรรณสูต) ซึ่งพื้นที่บริเวณนั้นเรียกว่าตลาดใหม่
ในปี พ.ศ. 2458 ได้ย้ายที่ทำการไปสร้างใหม่ในตำบลสามพราน เนื่องจากที่ทำการเดิมคับแคบ ให้บริการประชาชนได้ไม่สะดวก พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอสามพราน ตามชื่อสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของมณฑลนครชัยศรี ต่อมาปี พ.ศ. 2474 ทางราชการยุบมณฑลนครชัยศรีลง อำเภอสามพรานจึงขึ้นอยู่กับเมืองราชบุรีอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2476 ได้ยุบมณฑลทั้งหมดทั่วราชอาณาจักร อำเภอสามพรานจึงได้ขึ้นอยู่กับจังหวัดนครปฐม ตามพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการของราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476
ส่วนนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 ถึงปัจจุบัน (เรียงตามปี)
- ในปี พ.ศ. 2469 ทางราชการได้มีคำสั่งโอนตำบลท่าไม้ ตำบลบางยาง ตำบลซูกั้ง (หนองนกไข่) และตำบลอ้อมน้อย อำเภอสามพราน ไปขึ้นกับอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลคลองใหม่ แยกออกจากตำบลสามพราน ตำบลบางช้าง และตำบลท่าตลาด ตั้งตำบลยายชา แยกออกจากตำบลสามพราน และตำบลท่าตลาด ตั้งตำบลท่าข้าม แยกออกจากตำบลสามพราน ตั้งตำบลบางเตย แยกออกจากตำบลบางกระทึก ตำบลทรงคนอง และตำบลไร่ขิง ตั้งตำบลหอมเกร็ด แยกออกจากตำบลทรงคนอง และตำบลท่าตลาด ตั้งตำบลบ้านใหม่ แยกออกจากตำบลอ้อมใหญ่[1]
- วันที่ 31 สิงหาคม 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลสามพราน ในท้องที่บางส่วนของ ตำบลสามพราน ตำบลคลองใหม่ ตำบลท่าตลาด และตำบลยายชา[2]
- วันที่ 5 มีนาคม 2506 ขยายเขตพื้นที่สุขาภิบาลสามพราน ให้ครอบคลุมพื้นที่เพิ่มขึ้น[3]
- วันที่ 31 กรกฎาคม 2507 จัดตั้งสุขาภิบาลดอนหวาย ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางกระทึก และตำบลบางเตย[4]
- วันที่ 24 กันยายน 2508 ยุบสุขาภิบาลดอนหวาย และเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสามพราน ให้ครอบคลุมทั้งอำเภอสามพราน[5]
- วันที่ 14 กันยายน 2519 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสามพราน คล้ายกับแบบปี 2506[6]
- วันที่ 3 มีนาคม 2524 จัดตั้งสุขาภิบาลอ้อมใหญ่ ในพื้นที่ตำบลอ้อมใหญ่ และบางส่วนของตำบลบ้านใหม่[7]
- วันที่ 1 มกราคม 2527 ได้โอนพื้นที่หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 6 (ที่มีพื้นที่อยู่ในพุทธมณฑล) ของตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน ไปขึ้นกับตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี (ในขณะนั้น)[8]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลสามพราน และสุขาภิบาลอ้อมใหญ่ เป็นเทศบาลตำบลสามพราน และเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ตามลำดับ
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอสามพรานแบ่งการปกครองเป็น 16 ตำบล 137 หมู่บ้าน ดังนี้
1. | ท่าข้าม | (Tha Kham) | 6 หมู่บ้าน | 9. | ท่าตลาด | (Tha Talat) | 10 หมู่บ้าน | |||||||||||
2. | ทรงคนอง | (Song Khanong) | 6 หมู่บ้าน | 10. | กระทุ่มล้ม | (Krathum Lom) | 9 หมู่บ้าน | |||||||||||
3. | หอมเกร็ด | (Hom Kret) | 6 หมู่บ้าน | 11. | คลองใหม่ | (Khlong Mai) | 7 หมู่บ้าน | |||||||||||
4. | บางกระทึก | (Bang Krathuek) | 8 หมู่บ้าน | 12. | ตลาดจินดา | (Talat Chinda) | 11 หมู่บ้าน | |||||||||||
5. | บางเตย | (Bang Toei) | 7 หมู่บ้าน | 13. | คลองจินดา | (Khlong Chinda) | 14 หมู่บ้าน | |||||||||||
6. | สามพราน | (Sam Phran) | 9 หมู่บ้าน | 14. | ยายชา | (Yai Cha) | 6 หมู่บ้าน | |||||||||||
7. | บางช้าง | (Bang Chang) | 11 หมู่บ้าน | 15. | บ้านใหม่ | (Ban Mai) | 5 หมู่บ้าน | |||||||||||
8. | ไร่ขิง | (Rai Khing) | 14 หมู่บ้าน | 16. | อ้อมใหญ่ | (Om Yai) | 8 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอสามพรานประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองสามพราน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสามพราน ตำบลท่าตลาด ตำบลคลองใหม่ และตำบลยายชา
- เทศบาลเมืองไร่ขิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไร่ขิงทั้งตำบล
- เทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระทุ่มล้มทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ้อมใหญ่ทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลบ้านใหม่
- เทศบาลตำบลบางกระทึก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกระทึกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าข้ามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทรงคนองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหอมเกร็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหอมเกร็ดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเตยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสามพราน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามพราน (นอกเขตเทศบาลเมืองสามพราน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางช้างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าตลาด (นอกเขตเทศบาลเมืองสามพราน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองใหม่ (นอกเขตเทศบาลเมืองสามพราน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดจินดา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดจินดาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองจินดา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองจินดาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลยายชา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยายชา (นอกเขตเทศบาลเมืองสามพราน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ (นอกเขตเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่)
ประชากร[แก้]
ชื่อ | ปีที่จัดตั้ง | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2555) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2555) |
---|---|---|---|---|---|
เทศบาลเมืองสามพราน | 2551 (2542) | ||||
เทศบาลเมืองไร่ขิง | 2551 (2538) | ||||
เทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม | 2551 (2538) | ||||
เทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ | 2542 | ||||
เทศบาลตำบลบางกระทึก | 2551 (?) | ||||
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม | 2538 | ||||
องค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง | 2539 | ||||
องค์การบริหารส่วนตำบลหอมเกร็ด | 2538 | ||||
องค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย | 2539 | ||||
องค์การบริหารส่วนตำบลสามพราน | 2539 | ||||
องค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง | 2538 | ||||
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาด | 2538 | ||||
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองใหม่ | 2538 | ||||
องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดจินดา | 2539 | ||||
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองจินดา | 2538 | ||||
องค์การบริหารส่วนตำบลยายชา | 2538 | ||||
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ | 2540 | ||||
ทั้งหมด | 249.347 | 192,450 | 771.82 | 107,287 |
สถานที่สำคัญ[แก้]
- โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์
- โรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์
- โรงเรียนนักบุญเปโตร
- โรงเรียนนาคประสิทธิ์
- โรงเรียนสามพรานวิทยา
- โรงเรียนสุคนธีรวิทย์
- โรงเรียนสกลวิทยา
- โรงเรียนบวรธนวิทย์
- มหาวิทยาลัยแสงธรรม
- โรงเรียนวัดไร่ขิง(สุนทรอุทิศ)
- โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา
- โรงเรียนวัดดอนหวาย
- บ้านผู้หว่าน
- วัดไร่ขิง
- วัดดอนหวาย
- วัดพุทโธ (วัดพญามังกร)
- โรงเรียนเอกดรุณ
วัดในอำเภอสามพราน[แก้]
วัดในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย
- วัดไร่ขิง (มงคลจินดาราม)
- วัดนครชื่นชุ่ม
- วัดเพลินเพชร
- วัดปรีดาราม (ยายส้ม)
- วัดวังน้ำขาว
- วัดบางช้างเหนือ
- วัดจินดาราม
- วัดราษฎร์ศรัทธาราม
- วัดทรงคนองวัดญาณเวศกวัน
- วัดดอนหวายวัดเชิงเลน
- วัดบางช้างใต้
- วัดเทียนดัด
- วัดเดชานุสรณ์
- สุสานวัดนักบุญเปโตร
- วัดสรรเพชญ
- วัดดงเกตุ
- วัดสามพราน
- วัดหอมเกร็ด
- วัดคลองอ้อมใหญ่
- วัดอ้อมใหญ่
- วัดสิรินธรเทพรัตนาราม
- วัดธรรมปัญญารามบางม่วง
- วัดท่าพูด
- วัดท่าข้าม
โรงเรียนในอำเภอสามพราน[แก้]
โรงเรียนในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย
- โรงเรียนวัดหอมเกร็ด (ไพศาลประชานุกูล)
- โรงเรียนปรีดารามวิทยาคม
- โรงเรียนบ้านหอมเกร็ด
- โรงเรียนบ้านตากแดด
- โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาราม
- โรงเรียนบ้านฉางโรงเรียนวัดบางช้างเหนือ (นครแสงโสภานุเคราะห์)
- โรงเรียนหลวงพ่อแช่มอุปถัมภ์ (ฉิน เกตุ อ่อนอุทิศ)
- โรงเรียนวัดจินดาราม
- โรงเรียนบ้านคลองใหม่ (พรเอิบดิลกราษฎร์บำรุง)
- โรงเรียนบ้านหัวอ่าว (ก๊วยสมบุญราษฏร์บำรุง)
- โรงเรียนบ้านพาดหมอน
- โรงเรียนบ้านคลองจินดา
- โรงเรียนวัดท่าข้าม (ประสานมงคลราษฎร์)
- โรงเรียนวัดทรงคนอง (กิมไน้บำรุงวิทย์)
- โรงเรียนวัดสรรเพชญ (ทวีวิทยาคม)
- โรงเรียนบ้านท่าตลาด
- โรงเรียนวัดบางช้างใต้ (กิตติวิทยากร)
- โรงเรียนบ้านเพลินวิทยา
- โรงเรียนวัดปรีดาราม
- โรงเรียนเญญาพัฒน์
- โรงเรียนสกลวิทยาฝ่ายมัธยม
- โรงเรียนเทศบาล๑บ้านสามพราน
(นครสาระผดุงวิทย์)
- วิทยาลัยการอาชีพนครปฐม
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- สวนสามพราน
- ลานแสดงช้างและฟาร์มจระเข้สามพราน
- ตลาดน้ำดอนหวาย
- ตลาดน้ำคลองจินดา
- วัดไร่ขิงพระอาารามหลวง
- วัดสามพราน (พุทโธภาวนา)
- วัดท่าพูดและพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดท่าพูด
- สวนนกยูงสามพราน
โรงพยาบาลในอำเภอสามพราน[แก้]
2.โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์[10]