Category Archives: อำเภอบางคล้า
อำเภอบางคล้า
อำเภอบางคล้า is the position for activity in post be presented at the first rank on Google page search by this category focus keyphrase.
อำเภอบางคล้า เป็นอำเภอที่ตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 2 ของจังหวัดฉะเชิงเทรา
ประวัติ[แก้]
อำเภอบางคล้าเป็นอำเภอใหญ่อำเภอหนึ่ง เดิมแบ่งเขตการปกครองเป็นสองอำเภอ คือ อำเภอหัวไทรและอำเภอบางคล้า จนถึงปี พ.ศ. 2447 สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพกราบบังคมทูลให้มีพระบรมราชโองการยุบอำเภอหัวไทรลง อำเภอบางคล้าเดิมตั้งอยู่ที่วัดใหม่บางคล้า ตำบลบางสวนในปัจจุบัน ต่อมาทางราชการเห็นว่าที่ตั้งที่ว่าการอำเภอไม่อยู่ในบริเวณศูนย์กลาง จึงย้ายมาอยู่ที่ตำบลเตาสุราซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน
- วันที่ 14 มีนาคม 2480 ยกฐานะท้องที่บางส่วนของตำบลบางคล้า จัดตั้งเป็น เทศบาลตำบลบางคล้า[1]
- วันที่ 13 พฤศจิกายน 2488 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลบางคล้า ตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของเทศบาล[2] โดยเพิ่มพื้นที่ให้ครอบคลุมตำบลบางคล้าทั้งตำบล
- วันที่ 29 กรกฎาคม 2490 ตั้งตำบลบางเล่า แยกออกจากตำบลบางตลาด ตั้งตำบลสาวชะโงก แยกออกจากตำบลบางสวน ตั้งตำบลเสม็ดเหนือ แยกออกจากตำบลเสม็ด (ตำบลเสม็ดใต้ในปัจจุบัน)[3]
- วันที่ 20 กรกฎาคม 2491 โอนพื้นที่หมู่ 5 (ในขณะนั้น) ของตำบลปากน้ำ ไปตั้งเป็นหมู่ 10 ของตำบลบางคล้า (เพิ่มเข้าไปในพื้นที่เทศบาลตำบลบางคล้า)[4]
- วันที่ 6 มิถุนายน 2493 โอนพื้นที่ตำบลหัวสำโรง อำเภอพนมสารคาม ไปขึ้นกับ อำเภอบางคล้า[5]
- วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลสาวชะโงก ในพื้นที่ตำบลสาวชะโงก[6]
- วันที่ 4 พฤษภาคม 2508 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลสาวชะโงก และจัดตั้งสุขาภิบาลสาวชะโงก ในท้องที่ตำบลสาวชะโงกทั้งตำบล บางส่วนของตำบลบางสวน และบางส่วนของตำบลเสม็ดเหนือ[7]
- วันที่ 20 กรกฎาคม 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลแปลงยาว ในท้องที่บางส่วนของตำบลแปลงยาว และตำบลวังเย็น[8]
- วันที่ 29 พฤษภาคม 2516 จัดตั้งสุขาภิบาลปากน้ำ ในท้องที่บางส่วนของตำบลปากน้ำ[9]
- วันที่ 21 กันยายน 2519 ยุบสุขาภิบาลสาวชะโงก[10] เนื่องจากไม่สามารถบริหารกิจการของสุขาภิบาลให้เจริญก้าวหน้าได้ และประชาชนในเขตสุขาภิบาลไม่ต้องการให้ท้องถิ่นนี้เป็นการปกครองรูปสุขาภิบาล
- วันที่ 16 มกราคม 2521 แยกพื้นที่ตำบลแปลงยาว ตำบลวังเย็น และตำบลหัวสำโรง อำเภอบางคล้า มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอแปลงยาว ขึ้นกับอำเภอบางคล้า
- วันที่ 21 เมษายน 2524 ตั้งตำบลหนองไม้แก่น แยกออกจากตำบลวังเย็น[11]
- วันที่ 15 มีนาคม 2528 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอแปลงยาว อำเภอบางคล้า เป็น อำเภอแปลงยาว[12]
- วันที่ 8 มิถุนายน 2536 แยกพื้นที่ตำบลก้อนแก้ว ตำบลคลองเขื่อน ตำบลบางเล่า ตำบลบางโรง และตำบลบางตลาด อำเภอบางคล้า มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอคลองเขื่อน ขึ้นกับอำเภอบางคล้า[13]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลปากน้ำ เป็นเทศบาลตำบลปากน้ำ
- วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ รวมกับเทศบาลตำบลปากน้ำ[14]
- วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอคลองเขื่อน อำเภอบางคล้า เป็น อำเภอคลองเขื่อน[15]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอบางคล้าแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 56 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บางคล้า | (Bang Khla) | 6. | สาวชะโงก | (Sao Cha-ngok) | ||||||||
2. | บางสวน | (Bang Suan) | 7. | เสม็ดเหนือ | (Samet Nuea) | ||||||||
3. | บางกระเจ็ด | (Bang Krachet) | 8. | เสม็ดใต้ | (Samet Tai) | ||||||||
4. | ปากน้ำ | (Pak Nam) | 9. | หัวไทร | (Hua Sai) | ||||||||
5. | ท่าทองหลาง | (Tha Thonglang) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอบางคล้าประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบางคล้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางคล้าทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลปากน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากน้ำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางสวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางสวนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระเจ็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกระเจ็ดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าทองหลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าทองหลางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสาวชะโงก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสาวชะโงกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสม็ดเหนือทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสม็ดใต้ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวไทรทั้งตำบล
สถานที่สำคัญ[แก้]
โรงงานสุรา กรมสรรพสามิต[แก้]
โรงงานสุรา กรมสรรพสามิต ตั้งอยู่ที่อำเภอบางคล้า มีเนื้อที่ประมาณ 164 ไร่ มีกำลังการผลิตประมาณ 40,000 ลิตรต่อวัน เดิมเป็นโรงงานผลิตสุราขาวหนึ่งในจำนวน 12 โรง ของกลุ่มสุราทิพย์ (มหาชน) จำกัด ซึ่งได้สร้างไว้ตามเงื่อนไขของการได้รับสัมปทาน ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของ