Category Archives: อำเภอบางเสาธง
อำเภอบางเสาธง
อำเภอบางเสาธง is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.
อำเภอบางเสาธง
|
|
---|---|
คำขวัญ: บางเสาธงถิ่นชานเมือง รุ่งเรืองเศรษฐกิจ ผลผลิตการเกษตร เขตอุตสาหกรรม เลิศล้ำศาสนา รักษาวัฒนธรรม |
|
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°35′42″N 100°49′50″E | |
อักษรไทย | อำเภอบางเสาธง |
อักษรโรมัน | Amphoe Bang Sao Thong |
จังหวัด | สมุทรปราการ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 114.79 ตร.กม. (44.32 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 78,367 |
• ความหนาแน่น | 682.69 คน/ตร.กม. (1,768.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10570 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1106 |
ที่อยู่ ที่ว่าการ |
ที่ว่าการอำเภอบางเสาธง เลขที่ 100 หมู่ที่ 7 ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 10570 |
บางเสาธง เป็นอำเภอใหม่ล่าสุดของจังหวัดสมุทรปราการ แยกพื้นที่การปกครองบางส่วนจากอำเภอบางพลี
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำภอบางเสาธง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตลาดกระบัง (กรุงเทพมหานคร)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางบ่อ มีคลองกาหลง คลองท่าข้าม คลองชวดใหญ่ คลองบางเซา คลองสนามพลีเก่า คลองสนามพลี คลองสำโรง คลองกะลาวน คลองหนามแดง คลองสกัดห้าสิบ และคลองหัวเกลือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางบ่อ มีคลองหัวเกลือ คลองเจริญราษฎร์ และคลองร้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบางพลี มีคลองร้อย คลองโก่งประทุน คลองสำโรง คลองเสาระหงษ์ ถนนวัดศรีวารีน้อย คลองบางนา และคลองหนองงูเห่าเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่ออำเภอ[แก้]
ในอดีตท้องที่ของอำเภอบางเสาธงเป็นพื้นที่น้ำทะเลท่วมถึงมาก่อน เป็นที่อยู่อาศัยของจระเข้น้ำเค็มจำนวนมาก ทำให้ขุดพบโครงกระดูกและส่วนหัวอยู่เป็นเนืองนิตย์ จึงมีเรียกการคลองที่มีจระเข้ชุกชุมว่า “คลองจรเข้” ภายหลังจึงได้เป็นชื่อของตำบลคือ ตำบลจรเข้ แล้วมาแยกเป็นตำบลศีรษะจรเข้น้อย[1] และตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่[2] ส่วนคำว่า “บางเสาธง” นั้นมีที่มาจากการทำเกษตรกรรม ในอดีตนั้นจะใช้ธงเป็นการบอกเวลาพักและยังใช้เป็นแนวของลำน้ำในการสัญจรอีกด้วย[3]
ประวัติ[แก้]
ส่วนนี้ตั้งแต่ตั้งกิ่งอำเภอบางเสาธง (พ.ศ. 2538) จนถึงปัจจุบัน
- วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2538 แบ่งพื้นที่ตำบลบางเสาธง ตำบลศีรษะจรเข้น้อย และตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอบางเสาธง ขึ้นกับอำเภอบางพลี พร้อมกับโอนสุขาภิบาลบางเสาธงจากอำเภอบางพลีมาขึ้นกับกิ่งอำเภอบางเสาธง[4]
- วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางเสาธงเป็นเทศบาลตำบลบางเสาธง
- วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550 ยกฐานะเป็นอำเภอบางเสาธง[5]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอบางเสาธงแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 3 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน รวม 38 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บางเสาธง | (Bang Sao Thong) | 17 หมู่บ้าน | |||||
2. | ศีรษะจรเข้น้อย | (Sisa Chorakhe Noi) | 12 หมู่บ้าน | |||||
3. | ศีรษะจรเข้ใหญ่ | (Sisa Chorakhe Yai) | 9 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอบางเสาธงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบางเสาธง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางเสาธงและตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางเสาธง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเสาธง (นอกเขตเทศบาลตำบลบางเสาธง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะจรเข้น้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศีรษะจรเข้น้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ (นอกเขตเทศบาลตำบลบางเสาธง)
การเกษตรกรรม[แก้]
- การเพาะปลูกข้าว ถือเป็นการทำการเกษตรส่วนใหญ่ของตำบลบางเสาธง
- การปลูกผักกระเฉดและเลี้ยงปลาเบญจพรรณ ถือว่าเป็นการทำการเกษตรส่วนใหญ่ของตำบลศีรษะจรเข้น้อยและตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่[6]
การคมนาคม[แก้]
อำเภอบางเสาธงมีถนนสายหลัก ได้แก่
- ถนนเทพรัตน์ หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 (บางนา-หนองไม้แดง) และทางพิเศษบูรพาวิถีด้านบน
- ถนนเทพารักษ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3268)
- ถนนเคหะบางพลี (ทางหลวงชนบทหมายเลข สป.1006)
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (กรุงเทพฯ-บ้านฉาง)
- ถนนวัดศรีวารีน้อย (ทางหลวงชนบทหมายเลข สป.2001)
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- วัดบัวโรย
- วัดหัวคู้ (หลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควา)
- วัดจรเข้ใหญ่
- วัดศรีวารีน้อย
- วัดมงคลนิมิตร (หลวงพ่อเกษ)
ดูเพิ่ม[แก้]