Category Archives: อำเภอบางพลี
อำเภอบางพลี
อำเภอบางพลี is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.
อำเภอบางพลี เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก
|
อำเภอบางพลี
|
|
---|---|
คำขวัญ: ร่วมบุญบัวหลวง หวานมะม่วงน้ำดอกไม้ ไหว้หลวงพ่อโตศักดิ์สิทธิ์ ยอดปลาสลิดบางพลี ผ่องปฐพีสุวรรณภูมิ |
|
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°36′21″N 100°42′22″E | |
อักษรไทย | อำเภอบางพลี |
อักษรโรมัน | Amphoe Bang Phli |
จังหวัด | สมุทรปราการ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 260.0 ตร.กม. (100.4 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 261,033 |
• ความหนาแน่น | 1,003.97 คน/ตร.กม. (2,600.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10540, 10543 (เฉพาะภายในอาคารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตำบลหนองปรือ) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1103 |
ที่อยู่ ที่ว่าการ |
ที่ว่าการอำเภอบางพลี เลขที่ 15 หมู่ที่ 8 ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540 |
บางพลี เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ตั้งของโครงการสร้างศูนย์ที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุแบบครบวงจร และเป็นที่ตั้งของสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหา
ประวัติศาสตร์[แก้]
- พ.ศ. ………. ตั้งอำเภอบางพลี
- วันที่ 1 มกราคม 2486 จังหวัดสมุทรปราการได้ถูกยุบลงเนื่องจากขณะนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอบางพลีจึงย้ายไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร[1]
- วันที่ 10 พฤษภาคม 2489 ตั้งจังหวัดสมุทรปราการขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จึงทำให้อำเภอบางพลีกลับมาขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการเหมือนเดิม[2]
- วันที่ 31 สิงหาคม 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลบางพลีในท้องที่บางส่วนของตำบลบางพลี[3]
- วันที่ 20 พฤศจิกายน 2528 จัดตั้งสุขาภิบาลบางเสาธงในท้องที่บางส่วนของตำบลบางเสาธงและบางส่วนของตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่[4]
- วันที่ 1 เมษายน 2538 แบ่งพื้นที่ตำบลบางเสาธง ตำบลศีรษะจรเข้น้อย และตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอบางเสาธง ขึ้นกับอำเภอบางพลี พร้อมกับโอนสุขาภิบาลบางเสาธงไปขึ้นกับกิ่งอำเภอบางเสาธง[5]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางพลีเป็นเทศบาลตำบลบางพลี
- วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอบางเสาธงเป็น อำเภอบางเสาธง[6]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตลาดกระบัง (กรุงเทพมหานคร)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางเสาธง มีถนนเข้าวัดหัวคู้ คลองหนองงูเห่า คลองบางนา ถนนวัดศรีวารีน้อย คลองเสาระหงษ์ คลองสำโรง คลองโก่งประทุน คลองลาดหวาย และคลองโก่งประทุนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางบ่อและอำเภอเมืองสมุทรปราการ มีคลองโก่งประทุนและคลองสามเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ เขตบางนา และเขตประเวศ (กรุงเทพมหานคร) มีคลองบางเหี้ยน้อย คลองบางกระบือ คลองกู้พารา คลองทับนาง คลองสำโรง ถนนศรีนครินทร์ คลองหนองกระทุ่ม คลองบางนา (สาหร่าย) คลองหนองตาดำ คลองปลัดเปรียง คลองต้นตาล แนวคันนาแบ่งเขตระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ คลองสลุด คลองปากน้ำ คลองสิงห์โต คลองขันแตก และคลองตาพุกเป็นเส้นแบ่งเขต[ต้องการอ้างอิง]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอบางพลีแบ่งเขตการปกครองย่อย 6 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน รวม 83 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บางพลีใหญ่ | (Bang Phli Yai) | 23 หมู่บ้าน | 4. | บางโฉลง | (Bang Chalong) | 11 หมู่บ้าน | |||||||||||||
2. | บางแก้ว | (Bang Kaeo) | 16 หมู่บ้าน | 5. | ราชาเทวะ | (Racha Thewa) | 15 หมู่บ้าน | |||||||||||||
3. | บางปลา | (Bang Pla) | 15 หมู่บ้าน | 6. | หนองปรือ | (Nong Prue) | 3 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอบางพลีประกอบด้วยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองบางแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางแก้วทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางพลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพลีใหญ่ (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 6–11), ตำบลบางปลา (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 11) และตำบลบางโฉลง (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 3)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพลีใหญ่ (เฉพาะหมู่ที่ 1–5, 12–23 และบางส่วนของหมู่ที่ 6–11)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปลา (เฉพาะหมู่ที่ 1–10, 12–15 และบางส่วนของหมู่ที่ 11)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางโฉลง (เฉพาะหมู่ที่ 1–2, 4–11 และบางส่วนของหมู่ที่ 3)
- องค์การบริหารส่วนตำบลราชาเทวะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลราชาเทวะทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปรือทั้งตำบล
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- วัดบางพลีใหญ่ใน (วัดหลวงพ่อโต)
- วัดบางพลีใหญ่กลาง (วัดพระนอนใหญ่)
- มัสยิดดีนุ้ลอิสลาม (สุเหร่าบางปลา)
- ตลาดน้ำโบราณบางพลี
- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- หนองงูเห่าฟาร์ม
บุคคลที่มีชื่อเสียงของอำเภอบางพลี[แก้]
- นายฉาย รุ่งเรือง และนางขาบ รุ่งเรือง คหบดีชาวบางนา กรุงเทพมหานคร ซึ่งมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่อำเภอบางพลี และได้บริจาคทรัพย์เพื่อการสาธารณกุศลเป็นจำนวนมาก เช่น วัดบางพลีใหญ่ใน เป็นต้น
การคมนาคม[แก้]
อำเภอบางพลีมีถนนสายหลัก ได้แก่
- ถนนเทพรัตน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34) และทางพิเศษบูรพาวิถีด้านบน
- ถนนเทพารักษ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3268)
- ถนนกิ่งแก้ว (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256)
- ถนนตำหรุ-บางพลี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256)
- ถนนกาญจนาภิเษก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9)
- ทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 370)
- ถนนเลียบคลองระบายน้ำบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ถนนสายรอง ได้แก่
- ถนนวัดหนามแดง (ทางหลวงชนบทหมายเลข สป.4006)
- ถนนจตุรโชคชัย (ซอยวัดหลวงพ่อโต)
- ถนนวัดศรีวารีน้อย (ทางหลวงชนบทหมายเลข สป.2001)
- ถนนจรรยวรรธ (รามคำแหง 2)
- ถนนวัดบางปลา
- ซอยวัดบางโฉลงนอก
- ซอยบางปลา 2 (ธนสิทธิ์)
- ถนนบัวนครินทร์
- ซอยขจรวิทย์
- ซอยที่ดินไท
- ซอยบุญธรรมอนุสรณ์