Category Archives: อำเภอเมืองปทุมธานี
อำเภอเมืองปทุมธานี
อำเภอเมืองปทุมธานี is position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address the keyword name in category.
อำเภอเมืองปทุมธานี เป็นหนึ่งในอำเภอจังหวัดปทุมธานี
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด
|
อำเภอเมืองปทุมธานี
|
|
---|---|
พิกัดภูมิศาสตร์: 14°1′11″N 100°32′6″E | |
อักษรไทย | อำเภอเมืองปทุมธานี |
อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Pathum Thani |
จังหวัด | ปทุมธานี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 125.151 ตร.กม. (48.321 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 208,118 |
• ความหนาแน่น | 1,662.93 คน/ตร.กม. (4,307.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 12000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1301 |
ที่อยู่ ที่ว่าการ |
ที่ว่าการอำเภอเมืองปทุมธานี ถนนเทศปทุม ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000 |
เมืองปทุมธานี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี มีประชากรจำนวนกว่า 2 แสน 5 พันคน ประกอบด้วยตำบล 13 ตำบล และเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการของจังหวัดปทุมธานีอีกด้วย อำเภอเมืองปทุมธานีเป็นอำเภอมีความหนาแน่นเฉลี่ยของประชากรสูงถึง 1,421 คนต่อตารางกิโลเมตร และมีความเจริญกระจายตัวอย่างทั่วถึงทั้งอำเภอ ตรงกลางอำเภอมีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลางอำเภอ
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสามโคก มีคลองบางโพธิ์เหนือ แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คลองแม่น้ำอ้อม คลองเชียงรากใหญ่ คลองบางพูด คลองตาหลี และลำรางสาธารณะเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี และอำเภอลำลูกกา มีทางรถไฟสายเหนือ ถนนลูกรัง และคลองเปรมประชากรเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตดอนเมือง (กรุงเทพมหานคร) และอำเภอปากเกร็ด (จังหวัดนนทบุรี) มีคลองบ้านใหม่ แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองบางตะไนย์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอลาดหลุมแก้ว มีคลองตาทรัพย์ คลองบางโพธิ์ใต้ คลองใหม่ คลองพระมหาโยธา และคลองลัดเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
- พ.ศ. ….. ตั้งอำเภอเมืองปทุมธานี
- วันที่ 29 พฤศจิกายน 2479 จัดตั้งเทศบาลเมืองปทุมธานี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางปรอก[1]
- วันที่ 2 กันยายน 2490 โอนพื้นที่บางหมู่บ้านของตำบลบางหลวงไปขึ้นกับตำบลบ้านฉาง[2]
- วันที่ 21 พฤษภาคม 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลบางหลวง ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านฉาง ตำบลบางหลวง ตำบลบางเดื่อ[3]
- วันที่ 20 มีนาคม 2524 ขยายเขตเทศบาลเมืองปทุมธานีให้ครอบคลุมตำบลบางปรอกทั้งตำบล[4]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางหลวงเป็นเทศบาลตำบลบางหลวง
- วันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลบางกะดีเป็นเทศบาลตำบลบางกะดี[5]
- วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่เป็นเทศบาลตำบลบ้านใหม่[6]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
พื้นที่อำเภอเมืองปทุมธานีแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 14 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน รวม 81 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บางปรอก | (Bang Parok) | – | 8. | บางหลวง | (Bang Luang) | 7 หมู่บ้าน | |||||||||
2. | บ้านใหม่ | (Ban Mai) | 6 หมู่บ้าน | 9. | บางเดื่อ | (Bang Duea) | 7 หมู่บ้าน | |||||||||
3. | บ้านกลาง | (Ban Klang) | 5 หมู่บ้าน | 10. | บางพูด | (Bang Phut) | 6 หมู่บ้าน | |||||||||
4. | บ้านฉาง | (Ban Chang) | 4 หมู่บ้าน | 11. | บางพูน | (Bang Phun) | 6 หมู่บ้าน | |||||||||
5. | บ้านกระแชง | (Ban Krachaeng) | 4 หมู่บ้าน | 12. | บางกะดี | (Bang Kadi) | 5 หมู่บ้าน | |||||||||
6. | บางขะแยง | (Bang Khayaeng) | 4 หมู่บ้าน | 13. | สวนพริกไทย | (Suan Phrikthai) | 8 หมู่บ้าน | |||||||||
7. | บางคูวัด | (Bang Khu Wat) | 12 หมู่บ้าน | 14. | หลักหก | (Lak Hok) | 7 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
อำเภอเมืองปทุมธานีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองปทุมธานี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปรอกทั้งตำบล
- เทศบาลเมืองบางคูวัด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางคูวัดทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางหลวง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านฉาง ตำบลบางหลวง และตำบลบางเดื่อ
- เทศบาลตำบลบางกะดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกะดีทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหลักหก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหลักหกทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบ้านกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกลางทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางเดื่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเดื่อ (นอกเขตเทศบาลตำบลบางหลวง)
- เทศบาลตำบลบางพูน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพูนทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางขะแยง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางขะแยงทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบ้านใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านฉาง (นอกเขตเทศบาลตำบลบางหลวง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกระแชง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกระแชงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางหลวง (นอกเขตเทศบาลตำบลบางหลวง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางพูด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพูดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสวนพริกไทย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวนพริกไทยทั้งตำบล
การคมนาคม[แก้]
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายหลัก
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 307 (ถนนกรุงเทพ-ปทุมธานี นนทบุรี-ปทุมธานี ปทุมธานีสายนอก)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 (ถนนรังสิต-ปทุมธานีและถนนปทุมธานี-บางเลน)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345 (ถนนบางบัวทอง-บางคูวัด-บางพูน)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 (ถนนปทุมธานี-บางปะหันหรือถนนปทุมธานี-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3111 (ถนนปทุมธานี-สามโคก-เสนา)
- ทางพิเศษอุดรรัถยา
- ถนนราชพฤกษ์
ถนนสายรอง
- ถนนปทุมธานีสายใน
- ถนนปทุมสัมพันธ์
อ้างอิง[แก้]
- ↑ “พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี พุทธศักราช ๒๔๗๙” (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ก): 828–831. 29 พฤศจิกายน 2479.
- ↑ “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดต่าง ๆ” (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (42 ง): 2366–2368. 9 กันยายน 2490.
- ↑ “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางหลวง จังหวัดปทุมธานี” (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (58 ง): 1447–1448. 26 มิถุนายน 2505.
- ↑ “พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. ๒๕๒๔” (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (43 ก): (ฉบับพิเศษ) 9-13. 19 มีนาคม 2524.
- ↑ “พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลบางกระดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. ๒๕๔๖” (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 120 (108 ก): 28–31. 31 ตุลาคม 2546.
- ↑ “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นเทศบาลตำบลบ้านใหม่” (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (พิเศษ 118 ง): 28. 7 ตุลาคม 2554