Category Archives: แขวงสามเสนนอก
แขวงสามเสนนอก
แขวงสามเสนนอก is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address the keyword name in category.
แขวงสามเสนนอก (Khwaeng Sam Sen Nok) is one of 5 sub-districts of เขตห้วยขวาง (Huai Khwang District).
เขตห้วยขวาง (Huai Khwang District) is one of 50 districts of Bangkok, Thailand.
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก
|
เขตห้วยขวาง
|
|
---|---|
คำขวัญ: วัดพระราม 9 อารามหลวงงามคู่เขต ศูนย์วัฒนธรรมประเทศคู่สมัย โครงการ บ่อบำบัดรถไฟฟ้าก้าวไกล ย่านนี้ไซร้ นามห้วยขวางศูนย์กลางเมือง |
|
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°46′36″N 100°34′46″E | |
อักษรไทย | เขตห้วยขวาง |
อักษรโรมัน | Khet Huai Khwang |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 15.033 ตร.กม. (5.804 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 81,689[1] |
• ความหนาแน่น | 5,433.97 คน/ตร.กม. (14,073.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10310 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1017 |
ที่อยู่ สำนักงาน |
เลขที่ 2 ถนนประชาอุทิศ แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th/huaikhwang |
เขตห้วยขวาง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตห้วยขวางตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตจตุจักรและเขตลาดพร้าว มีคลองน้ำแก้วและคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ และเขตสวนหลวง มีคลองลาดพร้าวและคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตวัฒนา มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตราชเทวีและเขตดินแดง มีถนนอโศก-ดินแดงและถนนรัชดาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
ในอดีตฤดูฝนของเขตนี้เต็มไปด้วยบึงใหญ่เนื่องจากเป็นที่ลุ่มต้องเดินทางด้วยเรือ และมีห้วยขวางอยู่เสมอ
ประวัติ[แก้]
เขตห้วยขวาง ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2516[2] โดยแยกพื้นที่การปกครองมาจากเขตพญาไท 2 แขวง คือ แขวงห้วยขวางและแขวงบางกะปิ จากนั้นในปี พ.ศ. 2521 ได้มีพระราชกฤษฎีกาโอนแขวงดินแดงจากเขตพญาไทและแขวงสามเสนนอกจากเขตบางกะปิมารวมกับเขตห้วยขวาง และโอนพื้นที่บางส่วนของเขตไปรวมกับเขตพญาไท[3] เพื่อจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของแต่ละเขตให้มีความเหมาะสม ทำให้เขตห้วยขวางมีพื้นที่ปกครอง 4 แขวง
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2536 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตห้วยขวาง โดยแยกแขวงดินแดงไปจัดตั้งเป็นเขตดินแดง[4]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตห้วยขวางแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
ห้วยขวาง | Huai Khwang |
5.342
|
25,879
|
30,337
|
4,844.44
|
บางกะปิ | Bang Kapi |
5.408
|
17,606
|
25,609
|
3,255.54
|
สามเสนนอก | Samsen Nok |
4.283
|
38,204
|
23,822
|
8,919.91
|
ทั้งหมด |
15.033
|
81,689
|
79,768
|
5,433.97
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตห้วยขวาง[5] |
---|
การคมนาคม[แก้]
- ถนนสายหลัก
- ถนนรัชดาภิเษก
- ถนนเพชรบุรี
- ถนนประดิษฐ์มนูธรรม
- ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
- ถนนเทียมร่วมมิตร
- ถนนพระราม 9
- ถนนเพชรอุทัย
- ถนนลาดพร้าว
- ถนนสุทธิสารวินิจฉัย
- ถนนประชาอุทิศ
- ถนนวัฒนธรรม
- ถนนเพชรพระราม
- ทางพิเศษศรีรัช
- ทางพิเศษฉลองรัช
นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พาดผ่านในเขตห้วยขวาง ซึ่งประกอบด้วย สถานีพระราม 9 สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีห้วยขวาง และสถานีสุทธิสาร ตามลำดับ
สถานที่สำคัญ[แก้]
- โรงพยาบาลปิยะเวท
- กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)
- กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
- สถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีเวิลด์
- วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
- วัดอุทัยธาราม (บางกะปิ)
- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
- องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
- โรงละครกรุงเทพ
- สยามนิรมิต
- โรงพยาบาลพระราม 9
สถานศึกษา[แก้]
โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.1-6)[แก้]
โรงเรียนประถมศึกษาที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย-มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน[แก้]
โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร[แก้]
โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)[แก้]
- โรงเรียนอนุบาลสองภาษาบ้านต้นไม้
- โรงเรียนสมาคมไทย-ญี่ปุ่น
- โรงเรียนนานาชาติคิซอินเตอร์เนชั่นแนล
- โรงเรียนชาญวิทย์
- โรงเรียนดลวิทยา
- โรงเรียนสมฤทัย
- โรงเรียนสิริเทพ
- โรงเรียนอนุบาลโชคชัย
- โรงเรียนอนุบาลทรงวิทย์
- โรงเรียนอนุบาลวัฒนานิเวศน์
- โรงเรียนอนุบาลสีชมพูมอนเทสเซอริ
- โรงเรียนอันวารุ้ลอิสลาม
- โรงเรียนอนุบาลนานาชาติเพรพ
- โรงเรียนอนุบาลบุณยรักษ์