Category Archives: วัดวงษ์ลาภาราม

วัดวงษ์ลาภาราม

วัดวงษ์ลาภาราม  is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.

วัดวงษ์ลาภาราม  เป็นถนนสายหลักเส้นหนึ่งในเขตหนองแขม

ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา

เขตหนองแขม
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตหนองแขม
คำขวัญ: หนองแขมเลื่องลือคือกล้วยไม้ งามจับใจคือดอกพุทธรักษา พุทธคุณหลวงพ่อพระปุญญาฯ มากคุณค่าสิ่งประดิษฐ์ที่คิดทำ
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°42′17″N 100°20′56″E
อักษรไทย เขตหนองแขม
อักษรโรมัน Khet Nong Khaem
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด 35.825 ตร.กม. (13.832 ตร.ไมล์)
ประชากร (2562)[2]
 • ทั้งหมด 156,354
 • ความหนาแน่น 4,364.38 คน/ตร.กม. (11,303.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 10160
รหัสภูมิศาสตร์ 1023
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 555 ถนนเพชรเกษม แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร 10160
เว็บไซต์ www.bangkok.go.th/nongkhame
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขตหนองแขม เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม สภาพเศรษฐกิจดั้งเดิมขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม แต่ปัจจุบันสภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากชุมชนเมืองขยายตัวจากพื้นที่ชั้นใน มีผู้ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยและประกอบอาชีพมากขึ้น พื้นที่การเกษตรจึงเริ่มถูกเปลี่ยนแปลงเป็นสถานที่ราชการ สถานศึกษา โรงพยาบาล สาธารณสุข สถานีโทรทัศน์ โรงงานอุตสาหกรรม อาคารพาณิชย์ และหมู่บ้านจัดสรร

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตั้งอยู่บนฝั่งธนบุรี (ทางตะวันตกสุดของกรุงเทพมหานคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ที่มาของชื่อเขต[แก้]

บริเวณแขวงหนองแขมในอดีตมีสภาพเป็นที่ราบลุ่ม บางแห่งมีน้ำท่วมขังตลอด (หนองน้ำ) และมีต้นแขม (หญ้าขนาดสูงชนิดหนึ่ง) ขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นพง ก่อนหน้านั้นเคยมีชื่อเรียกว่า “หนองน้ำแดง” แต่ถูกลืมไปแล้ว[3] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2413 พระวินัยธร (คำ) เจ้าอาวาสวัดเชิงเลน ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน เมืองนครปฐม ได้สร้างวัดขึ้นที่ริมหนองน้ำแห่งหนึ่งและตั้งชื่อวัดว่า “วัดหนองแขม”[4] ตามลักษณะของพื้นที่ ส่วนชาวบ้านก็ได้ขุดบ่อไว้ริมหนองเพื่ออาศัยใช้น้ำจืดและเรียกว่า “บ่อหนองแขม”[4]

ประวัติ[แก้]

ต่อมาบริเวณหนองแขมซึ่งมีคลองภาษีเจริญตัดผ่านมีความเจริญและมีผู้คนเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง อำเภอหนองแขม ขึ้นตรงต่อกระทรวงนครบาล เนื่องจากทรงเล็งเห็นว่า พื้นที่บริเวณดังกล่าวน่าจะเป็นศูนย์กลางการพัฒนาในย่านฝั่งตะวันตกของพระนครได้[4] โดยอำเภอหนองแขมสมัยนั้นแบ่งออกเป็น 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองแขม ตำแหน่งกำนันมีชื่อว่าขุนขจรหนองแขมเขตร์, ตำบลหนองค้างพลู มีขุนประเทศหนองแขมขันธ์เป็นกำนัน, ตำบลหลักหนึ่ง มีขุนหนองแขมกนิษฐศรเป็นกำนัน และตำบลหลักสอง มีขุนภิบาลเขตร์นครเป็นกำนัน ตั้งที่ว่าการอำเภออยู่หน้าโรงจับกัง (บ้านพักคนงาน) ของโรงสีเหลียงเฮงฮวดในปัจจุบัน[4] จนถึงปี พ.ศ. 2452 จึงย้ายไปตั้งริมคลองภาษีเจริญฝั่งเหนือ บริเวณปากคลองมหาศร หมู่ที่ 5 ตำบลหนองแขม[4]

ครั้นในปี พ.ศ. 2472 ทางการได้ลดฐานะอำเภอหนองแขมลงเป็น กิ่งอำเภอหนองแขม ขึ้นกับอำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี กระทรวงมหาดไทยได้ยกฐานะท้องที่ริมคลองภาษีเจริญ (บางส่วน) ของตำบลหนองแขมขึ้นเป็นสุขาภิบาลหนองแขมในปี พ.ศ. 2499[5] จนถึงปี พ.ศ. 2501 เมื่อสภาพท้องที่มีความเจริญมากขึ้น จึงมีพระราชกฤษฎีกาให้จัดตั้ง อำเภอหนองแขม ขึ้นอีกครั้ง[6] ประกอบด้วยเขตการปกครองย่อย 3 ตำบล เนื่องจากตำบลหลักหนึ่งซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นตำบลบางแคนั้น[4] ยังคงอยู่ในการปกครองของอำเภอภาษีเจริญ[7]

จนกระทั่งมีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีในปี พ.ศ. 2514[8] และเปลี่ยนรูปแบบเป็นกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2515[9] โดยยุบเลิกการปกครองท้องถิ่นแบบสุขาภิบาล รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ อำเภอหนองแขมจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตหนองแขม และในปี พ.ศ. 2521 ได้ย้ายที่ว่าการเขตจากปากคลองมหาศร มาตั้งที่หมู่ที่ 7 แขวงหนองค้างพลู ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานเขตปัจจุบัน[4]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 กระทรวงมหาดไทยได้แยกแขวงหลักสอง (เฉพาะทางฟากตะวันออกของซอยเพชรเกษม 69 และถนนบางบอน 3) ไปจัดตั้งเป็นเขตบางแค[10] ส่วนพื้นที่แขวงหลักสองเดิม (ที่อยู่ทางฟากตะวันตก) ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของแขวงหนองค้างพลูและแขวงหนองแขม[11]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

เขตหนองแขมแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่

อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2562)
จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2562)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2562)
หนองแขม Nong Khaem
18.789
80,394
30,333
4,278.78
หนองค้างพลู Nong Khang Phlu
17.036
75,960
31,549
4,458.79
ทั้งหมด
35.825
156,354
61,882
4,364.38

ประชากร[แก้]

การคมนาคม[แก้]

ทางสายหลักในพื้นที่เขตหนองแขม ได้แก่

ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่