Category Archives: ถนนพระรามที่ 4
ถนนพระรามที่ 4
ถนนพระรามที่ 4 is the position for activity in post to be presented at the first rank on the Google page search by name in category.
ถนนพระรามที่ 4 เป็นถนนสายหลักเส้นหนึ่งใน เขตสาทร
เขตสาทร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก
|
เขตสาทร
|
|
---|---|
คำขวัญ: สำเภาทองล้ำค่า สุสานสวนป่าร่มเย็น เน้นนโยบายเมืองน่าอยู่ สถาบันให้ความรู้มากมี จุดรวมสถานที่แหล่งทูต |
|
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°42′29″N 100°31′35″E | |
อักษรไทย | เขตสาทร |
อักษรโรมัน | Khet Sathon |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 9.326 ตร.กม. (3.601 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 78,860[1] |
• ความหนาแน่น | 8,455.92 คน/ตร.กม. (21,900.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1028 |
ที่อยู่ สำนักงาน |
เลขที่ 59 ซอยจันทน์ 18/7 แยก 1 (หน้าเขต) ถนนจันทน์ แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th/sathon |
เขตสาทร เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต[ต้องการอ้างอิง]
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางรักและเขตปทุมวัน มีคลองสาทรและถนนพระรามที่ 4 ฝั่งใต้เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคลองเตยและเขตยานนาวา มีแนวทางรถไฟแม่น้ำ ซอยเชื้อเพลิง 4 (ศรีรุ้ง) และถนนเย็นอากาศเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตยานนาวาและเขตบางคอแหลม มีถนนนางลิ้นจี่ ถนนจันทน์เก่า คลองช่องนนทรี ถนนจันทน์ ถนนสาธุประดิษฐ์ ซอยสาธุประดิษฐ์ 12 (ทวีสิทธิ์) ซอยจันทน์ 43 แยก 33 ซอยจันทน์ 43 (วัดไผ่เงิน) ซอยจันทน์ 43 แยก 14 (อยู่ดี) ซอยเจริญราษฎร์ 5 (อยู่ดี) ซอยเจริญราษฎร์ 8 (อยู่ดี) คูน้ำข้างซอยจันทน์ 34/2 และจันทน์ 49 และคลองกรวยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตคลองสาน มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
พื้นที่เขตสาทรเดิมขึ้นอยู่กับอำเภอบ้านทะวาย จังหวัดพระประแดง ต่อมาอำเภอบ้านทะวายย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอยานนาวาและเขตยานนาวา กรุงเทพมหานครในสมัยต่อมา
ภายหลังพื้นที่เขตยานนาวามีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต กรุงเทพมหานครจึงได้รวมแขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงทุ่งมหาเมฆให้อยู่ในการดูแลของสำนักงานเขตยานนาวา สาขา 1 (แขวงยานนาวา) และท้องที่ดังกล่าวได้ยกฐานะเป็น เขตสาธร ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตยานนาวา ตั้งเขตสาธรและเขตบางคอแหลม โดยนำชื่อคลองและถนนสาธรมาตั้งเป็นชื่อของเขตโดยอนุโลม
ต่อมาในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2542 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงชื่อ “เขตสาธร” เป็น เขตสาทร เนื่องจากคำว่าสาธรไม่มีความหมายในพจนานุกรม ส่วนคำว่าสาทรมีความหมายว่า เอื้อเฟื้อ เอาใจใส่ และเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ “หลวงสาทรราชายุตก์ (ยม)” ขุนนางและคหบดีในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ขุดคลองอันเป็นที่มาของชื่อเขต ดังนั้นชื่อเขตสาธร คลองสาธร ถนนสาธรเหนือ ถนนสาธรใต้ และซอยย่อยของถนนสาธร จึงต้องเขียนเป็น “สาทร” ทั้งหมด[2]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตสาทรแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
แขวงทุ่งวัดดอน | Thung Wat Don |
3.195
|
38,841
|
17,785
|
12,156.80
|
แขวงยานนาวา | Yan Nawa |
2.090
|
20,463
|
10,489
|
9,790.90
|
แขวงทุ่งมหาเมฆ | Thung Maha Mek |
4.041
|
19,556
|
13,981
|
4,839.39
|
ทั้งหมด |
9.326
|
78,860
|
42,255
|
8,455.92
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตสาทร[3] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ในพื้นที่เขตสาทรมีทางสายหลัก ได้แก่
- ถนนนราธิวาสราชนครินทร์
- ถนนพระรามที่ 4
- ถนนสาทรใต้
- ถนนเจริญกรุง
- ถนนเจริญราษฎร์
- ถนนจันทน์
- ถนนนางลิ้นจี่
- ทางพิเศษศรีรัช
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ส่วนทางสายรอง ได้แก่
- ถนนสวนพลู (สาทร 3)
- ถนนเย็นจิต
- ซอยเจริญกรุง 57 (ดอนกุศล)
- ซอยสาทร 1 (อรรถการประสิทธิ์)
- ซอยสาทร 11 / ซอยจันทน์ 18/7 (เซนต์หลุยส์ 3)
- ซอยงามดูพลี
- ซอยสุวรรณสวัสดิ์
และยังมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 1 แห่ง คือ สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน
สถานที่สำคัญ[แก้]
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- บ้านซอยสวนพลู (พิพิธภัณฑ์บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช)
- อาคารหอการค้าไทย-จีน
- พิพิธภัณฑ์กรุงเทพประกันภัย
- พิพิธภัณฑ์จักรเย็บผ้า
- ย่านบ้านเก่าริมถนนสาทร
- สะพานปลากรุงเทพ
- เดอะซิตี้วีว่า
- สุสานแต้จิ๋ว
- อาคารร้างสาธร ยูนีค ทาวเวอร์
สถานทูต[แก้]
- สถานทูตสิงคโปร์
- สถานทูตเม็กซิโก
- สถานทูตนครรัฐวาติกัน
- สถานทูตเดนมาร์ก
- สถานทูตเยอรมนี
- สถานทูตออสเตรีย
- สถานทูตออสเตรเลีย
- สถานทูตสโลวาเกีย
- สถานทูตบราซิล
อาคารสำนักงาน[แก้]
- เอ็มไพร์ ทาวเวอร์
- แอทสาทร สแควร์
- เอไอเอ ทาวเวอร์ สาทร
- สาทธร ซิตี้ ทาวเวอร์
- ไทย ซีซี
- ตึกหุ่นยนต์