Category Archives: แขวงลุมพินี
แขวงลุมพินี
แขวงลุมพินี is position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address the keyword name in category.
แขวงลุมพินี (Khwaeng Lumphini) is one of 5 sub-districts of เขตปทุมวัน (Pathum Wan District).
เขตปทุมวัน (Pathum Wan District) is one of 50 districts of Bangkok, Thailand.
เขตปทุมวัน
เขตปทุมวัน
|
|
---|---|
คำขวัญ: บูชาท้าวมหาพรหม ชื่นชมวังสมเด็จย่า ศูนย์การค้ามากมี ลุมพินีสวนสาธารณะ ศิลปะมวยไทย สถานีรถไฟหัวลำโพง เชื่อมโยงรถไฟฟ้า สถานศึกษาเลื่องชื่อ นามระบือจุฬาลงกรณ์ | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′41.79″N 100°31′19.92″E | |
อักษรไทย | เขตปทุมวัน |
อักษรโรมัน | Khet Pathum Wan |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 8.370 ตร.กม. (3.232 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 48,382[1] |
• ความหนาแน่น | 5,780.40 คน/ตร.กม. (14,971.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10330 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1007 |
ที่อยู่ สำนักงาน |
อาคารไทยยานยนตร์ เลขที่ 12/1-4 ซอยรองเมือง 5 ถนนจรัสเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th/pathumwan |
เขตปทุมวัน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ การพยาบาล วัฒนธรรม การศึกษา และการทูต เป็นเขตหนึ่งที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางที่สุดของกรุงเทพมหานครและที่มีการคมนาคมหลากหลายช่องทาง
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้[2]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตดุสิตและเขตราชเทวี มีคลองมหานาคและคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตวัฒนาและเขตคลองเตย มีทางรถไฟสายแม่น้ำเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสาทรและเขตบางรัก มีถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตรบริเวณคลองแสนแสบ ซึ่งในขณะนั้นยังมีสภาพเป็นท้องนาชานเมือง มีบัวพันธุ์ไทยขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสระบัว 2 สระ และพระตำหนักสำหรับเป็นที่ประทับพักผ่อนซึ่งในปัจจุบันเป็นวังสระปทุม (วังที่ประทับของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี) และต่อมาได้โปรด ฯ ให้สร้างวัดปทุมวนาราม (แปลว่า วัดป่าบัว) ขึ้นเป็นพระอารามหลวง บริเวณดังกล่าวจึงมีชื่อเรียกว่า ปทุมวัน
ประวัติศาสตร์[แก้]
อำเภอปทุมวัน ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงนครบาลเมื่อ พ.ศ. 2457 โดยใช้ที่ว่าการอำเภอสามแยก (ต่อมายุบรวมกับอำเภอสัมพันธวงศ์) เป็นที่ทำการในขั้นแรก จากนั้นจึงย้ายมาตั้งอยู่ที่สี่แยกปทุมวัน และได้ย้ายมาอยู่ที่ตั้งปัจจุบันในซอยจุฬาลงกรณ์ 5 ถนนพระรามที่ 4 ในปี พ.ศ. 2506[3]
ใน พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอปทุมวันจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตปทุมวัน ขึ้นกับกรุงเทพมหานคร ส่วนตำบลต่าง ๆ ในท้องที่ก็มีฐานะเป็นแขวง
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตปทุมวันแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
รองเมือง | Rong Mueang |
1.301
|
17,181
|
7,163
|
13,205.99
|
วังใหม่ | Wang Mai |
1.403
|
7,092
|
5,795
|
5,054.88
|
ปทุมวัน | Pathum Wan |
2.181
|
6,058
|
1,076
|
2,777.62
|
ลุมพินี | Lumphini |
3.485
|
18,051
|
16,759
|
5,179.62
|
ทั้งหมด |
8.370
|
48,382
|
30,793
|
5,780.40
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตปทุมวัน[4] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตได้แก่ ถนนพระรามที่ 1 (ต่อเนื่องเป็นถนนเพลินจิตและถนนสุขุมวิท) ตัดผ่านพื้นที่เขตในแนวนอนทางทิศเหนือ ถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองทางทิศใต้ โดยถนนที่เชื่อมระหว่างถนนทั้ง 2 สายนี้ ได้แก่ ถนนรองเมือง ถนนจารุเมือง (ต่อเนื่องเป็นถนนพระรามที่ 6) ถนนบรรทัดทอง ถนนพญาไท ถนนอังรีดูนังต์ และถนนราชดำริ นอกจากนี้ก็ยังมีถนนหลังสวน ถนนวิทยุ ถนนสารสิน ถนนจรัสเมือง ถนนเจริญเมือง ทางพิเศษเฉลิมมหานคร และทางพิเศษศรีรัช
การคมนาคมระบบรางนั้น สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง ตั้งอยู่ในแขวงรองเมือง เป็นสถานีรถไฟกลางของกรุงเทพมหานคร โดยรถไฟจะออกจากสถานีนี้ไปสู่จุดหมายปลายทางทั่วประเทศ
ในส่วนของระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้านั้น เขตปทุมวันมีรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ได้แก่ สถานีหัวลำโพง สถานีสามย่าน สถานีสีลม และสถานีลุมพินี ตั้งอยู่ริมแนวเขตทางทิศใต้ ส่วนรถไฟฟ้าบีทีเอสก็มีสถานีสยามซึ่งเป็นสถานีหลักอยู่ในเขตนี้ เป็นจุดเชื่อมต่อของสายสีลมกับสายสุขุมวิท สถานีรถไฟฟ้าอื่น ๆ ในพื้นที่เขตปทุมวัน ได้แก่ สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ สถานีราชดำริของสายสีลม สถานีชิดลมและสถานีเพลินจิต ของสายสุขุมวิท
การสัญจรทางน้ำก็ยังมีอยู่ คือ เรือด่วนที่บริการในคลองแสนแสบ ซึ่งเป็นคลองแบ่งเขตปกครองแคบ ๆ ทางทิศเหนือ
สถานที่[แก้]
สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา[แก้]
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[5]
- พิพิธภัณฑ์กุมารศัลยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ
- พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พิพิธภัณฑ์วาจวิทยาวัฑฒน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับไทย
- พิพิธภัณฑ์สมุนไพร
- เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หอศิลป์จามจุรี
- หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย
- สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา[แก้]
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถมและมัธยม
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
- โรงเรียนวัดปทุมวนาราม
- โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย
สถานที่สำคัญทางราชการ[แก้]
สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา[แก้]
ศาลเทพเจ้าทางศาสนาฮินดู[แก้]
- ศาลพระตรีมูรติ[8]
- ศาลท้าวมหาพรหม เอราวัณ
- ศาลพระนารายณ์ทรงสุบรรณ
- ศาลพระพิฆเณศวร
- ศาลพระลักษมี
- ศาลพระอินทร์ (ท้าวอมรินทร์เทวาธิราช)
การเดินทางและสถานที่เชื่อมต่อ[แก้]
- สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส
- สถานีรถไฟฟ้ามหานคร
- สถานีรถไฟหัวลำโพง
- ท่าเรือเชิงสะพานเฉลิมโลก
สนามกีฬาและสวนสาธารณะ[แก้]
- ราชกรีฑาสโมสร
- สวนลุมพินี
- พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- กรีฑาสถานแห่งชาติ
- สวนปทุมวนานุรักษ์
- PARK @ SIAM
สถานที่สำคัญทางวัฒนธรรม[แก้]
- บริการสารนิเทศเฉพาะสาขา ชนเผ่าไท-กะได
- พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน
- พิพิธภัณฑ์โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย
- พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
- หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 เซ็นทรัล ชิดลม เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในเวลากลางคืน มีผู้เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บสาหัส 11 ราย[9][10]
23 กมุภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ตึกเพรสซิเด้นท์ ทาวเวอร์ เกิดเพลิงไหม้ขึ้น มีผู้เสียชีวิต 3 รายบาดเจ็บ 101 ราย[11]
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ได้เกิดเหตุระเบิดที่บริเวณทางเข้าสวนลุมพินี ประตู 4 ถนนพระรามที่ 4 ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นด่านตรวจของตำรวจและทหาร จำนวน 3 ครั้ง เบื้องต้นคาดว่าเป็นชนิดเอ็ม 79 เบื้องต้นมีตำรวจได้รับบาดเจ็บ 4 ราย ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เบื้องจากการตรวจสอบวิถีกระสุนในเบื้องต้น คนร้ายน่าจะยิงวิถีโค้ง ข้ามสะพานลอย น่าจะเป็นการยิงมาจากทางด้านแยกศาลาแดง[ต้องการอ้างอิง] เมื่อเวลา 05.00 น. พบเจ้าหน้าที่ 1 นายเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว[12]
17 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เกิดระเบิดที่ศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้ สามารถจับผู้วางระเบิดได้แล้วคือนายยูซูฟุ ไมรารี และนายอาเด็ม คาราดัก โดยทั้งสองคนได้ซัดทอดว่ามีคนไทยอยู่เบื่องหลังการก่อเหตุในครั้งนี้ คือนายอ๊อด พยุงวงษ์และนางสาววรรณา สวนสัน ซึ่งในขณะนี้เชื่อว่าออกนอกประเทศไปแล้ว
10 เมษายน พ.ศ. 2562 เกิดเหตุไฟไหม้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ มีผู้เสียชีวิต 3 ราย[13] บาดเจ็บ 15 ราย[14]