Category Archives: วัดปากน้ำภาษีเจริญ
วัดปากน้ำภาษีเจริญ
วัดปากน้ำภาษีเจริญ is the position for the activity in post to be presented at the first rank on the Google page search by name in category.
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ที่อยู่: 300 ถนน ซอย รัชมงคลประสาธน์ แขวง ปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ ณ ที่ราบลุ่มบางกอกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ริมคลองหลวงหรือ คลองบางกอกใหญ่
อันเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม ก่อนที่จะมีการขุดคลองลัดหน้าวัดอรุณราชวรารามและกลายเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน
เนื่องจากวัดตั้งอยู่บริเวณปากคลองด่านที่แยกไปจากคลองบางหลวงอีกทีหนึ่ง ชื่อของวัดจึงถูกเรียกขานตามตำบลที่ตั้งว่า วัดปากน้ำ ซึ่งชื่อนี้มีปรากฏเรียกใช้ในจดหมายเหตุโบราณหลายฉบับ
แต่ได้พบชื่อของวัดที่แปลกออกไปในแผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2453 และ พ.ศ. 2474 ว่า วัดสมุทธาราม แต่ไม่เป็นที่นิยมเรียกขานกันอย่างนั้น คงเรียกว่า วัดปากน้ำ มาโดยตลอด
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก
|
เขตภาษีเจริญ
|
|
---|---|
คำขวัญ: แห่พระธาตุวัดนางชี บารมีหลวงพ่อ วัดปากน้ำ ศิลปกรรมอารามมากมี ศาลขุนด่านเจ้าพ่อเสือเกื้อหนุนความดี ชมของดีที่… ภาษีเจริญ |
|
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°42′53″N 100°26′14″E | |
อักษรไทย | เขตภาษีเจริญ |
อักษรโรมัน | Khet Phasi Charoen |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 17.834 ตร.กม. (6.886 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 125,981[1] |
• ความหนาแน่น | 7,064.09 คน/ตร.กม. (18,295.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1022 |
ที่อยู่ สำนักงาน |
เลขที่ 46 ซอยเพชรเกษม 54 (ทิพย์นิยม 2) ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160 |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th/phasicharoen |
ภาษีเจริญ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปมีลักษณะกึ่งชนบทกึ่งชุมชนเมือง แต่ในพื้นที่เนื่องจากมีการขยายตัวของระบบสาธารณูปโภค (โดยเฉพาะด้านการคมนาคม) จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงจากชุมชนเกษตรเป็นชุมชนเมืองมากขึ้น
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตตลิ่งชัน มีคลองบางเชือกหนังเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่และเขตธนบุรี มีคลองบางกอกใหญ่และคลองด่านเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตจอมทองและเขตบางบอน มีคลองวัดนางชี (คลองวัดเพลง) คลองตาม่วง คลองวัดโคนอน (คลองวัดอ่างแก้ว) คลองบางหว้า คลองสวนหลวงใต้ คลองรางบัว คลองตาฉ่ำ คลองบางประทุน ลำรางสาธารณะ คลองวัดสิงห์ และคลองบางโคลัดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางแค มีคลองพระยาราชมนตรี คลองบางแวก คลองบางไผ่ และคลองลัดตากลั่นเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
ชื่อของเขตนั้นนำมาจากชื่อของ คลองภาษีเจริญ ที่ขุดขึ้นเชื่อมแม่น้ำท่าจีน (ที่ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน แขวงเมืองสมุทรสาคร) กับคลองบางกอกใหญ่ เพื่อเป็นการสัญจรทางน้ำ ซึ่งเน้นการส่งอ้อยและน้ำตาลจากต่างจังหวัดเข้าสู่เมืองหลวง โดยเริ่มขุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2401 เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2415 และชื่อคลองตั้งตามชื่อพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ต่อมาเป็น พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ ต้นสกุลพิศลยบุตร และบรรพบุรุษของราชสกุลกิติยากร) ผู้เป็นแม่กองดูแลงานขุดคลองนี้
ประวัติศาสตร์[แก้]
นับจากนั้นได้มีผู้คนย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมคลองภาษีเจริญมากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่ ทางราชการจึงได้จัดตั้ง อำเภอภาษีเจริญ ขึ้นในปี พ.ศ. 2442 มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดธนบุรี และในปี พ.ศ. 2498 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งสุขาภิบาลบางแคขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางแค บางหว้า และบางด้วนที่ตั้งอยู่ริมคลองสายนี้ และในปี พ.ศ. 2513 ได้ขยายเขตออกไปจนครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งอำเภอ (เหลือเพียงตำบลบางไผ่ ตำบลบางแวก ส่วนตำบลคูหาสวรรค์และตำบลปากคลองภาษีเจริญอยู่ในเขตเทศบาลนครธนบุรีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479)
ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2515 ซึ่งได้ยุบการปกครองท้องถิ่นแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งได้เปลี่ยนการเรียกตำบลและอำเภอใหม่ อำเภอภาษีเจริญจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 มีหน่วยการปกครองย่อย 10 แขวง
ต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันตกของเขตภาษีเจริญมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่น กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 ดูแลแขวงบางแค บางแคเหนือ และบางไผ่ และในปี พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศแบ่งพื้นที่ปกครองของสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 ดังกล่าวออกไปตั้งเป็นเขตบางแค
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตภาษีเจริญแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 แขวง คือ
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
---|---|---|---|---|---|
บางหว้า | Bang Wa |
5.105
|
37,905
|
20,754
|
7,425.07
|
บางด้วน | Bang Duan |
2.514
|
28,908
|
10,597
|
11,498.80
|
บางจาก | Bang Chak |
1.394
|
8,219
|
3,645
|
5,895.98
|
บางแวก | Bang Waek |
3.022
|
18,818
|
9,276
|
6,227.00
|
คลองขวาง | Khlong Khwang |
2.992
|
11,093
|
3,628
|
3,707.55
|
ปากคลองภาษีเจริญ | Pak Khlong Phasi Charoen |
1.898
|
14,778
|
9,082
|
7,786.09
|
คูหาสวรรค์ | Khuha Sawan |
0.909
|
6,260
|
1,909
|
6,886.68
|
ทั้งหมด |
17.834
|
125,981
|
58,891
|
7,064.09
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตภาษีเจริญ[3] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ถนน[แก้]
ถนนสายหลัก[แก้]
- ถนนเพชรเกษม ตัดผ่านพื้นที่ทางใต้ของเขตภาษีเจริญ ตัดผ่านทางด้านทิศตะวันออกไปยังทิศใต้ เริ่มต้นเข้าสู่เขตภาษีเจริญจากคลองบางกอกใหญ่ แขวงปากคลองภาษีเจริญ ต่อเนื่องมาจากแขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ และไปสิ้นสุดที่คลองพระยาราชมนตรี แขวงบางหว้า ก่อนจะตัดผ่านเข้าสู่แขวงบางแค เขตบางแค ต่อไป
- ถนนราชพฤกษ์
- ถนนกัลปพฤกษ์
- ถนนพุทธมณฑล สาย 1
ถนนสายรอง[แก้]
- ถนนเทอดไท
- ถนนรัชมงคลประสาธน์ (เทอดไท / คลองภาษีเจริญ)
- ถนนศาลธนบุรี
- ถนนบางแวก
- ถนนราชมนตรี
- ซอยเพชรเกษม 48 / ซอยบางแวก 69 (วัดจันทร์ประดิษฐาราม)
รถไฟฟ้า[แก้]
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือสายสีน้ำเงิน (เปิดให้บริการ)[แก้]
- รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (โครงการส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค) เป็นโครงการยกระดับตามแนวเกาะกลางถนนเพชรเกษม ต่อเนื่องมาจากเขตบางกอกใหญ่ ผ่านพื้นที่เขตภาษีเจริญ มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกและเข้าสู่เขตบางแค มีสถานีที่อยู่ในพื้นที่เขตภาษีเจริญทั้งหมด 4 สถานี โดยเป็นสถานียกระดับทั้งหมด ได้แก่ สถานีบางไผ่ สถานีบางหว้า สถานีเพชรเกษม 48 และ สถานีภาษีเจริญ ซึ่งในขณะนี้เปิดให้บริการแล้ว
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (เปิดให้บริการ)[แก้]
- รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่ตัดผ่านในเขตภาษีเจริญ เป็นโครงการส่วนต่อขยาย วงเวียนใหญ่-บางหว้า โดยเริ่มต้นเข้าสู่พื้นที่เขตภาษีเจริญจากเขตธนบุรี เป็นโครงการยกระดับตามแนวถนนราชพฤกษ์ สำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมนั้น มีสถานีอยู่ในเขตภาษีเจริญ 1 สถานีและเป็นสถานีปลายทาง คือ สถานีบางหว้า
สถานที่สำคัญ[แก้]
- วัดและศาลเจ้า
- วัดปากน้ำภาษีเจริญ
- วัดอัปสรสวรรค์
- วัดนางชีวรวิหาร
- วัดนวลนรดิศวรวิหาร
- ศาลขุนด่านเจ้าพ่อเสือ บางหว้า
- วัดนิมมานรดี
- วัดทองศาลางาม
- วัดคูหาสวรรค์
- วัดจันทร์ประดิษฐาราม
- วัดอ่างแก้ว
- วัดโคนอน ภาษีเจริญ
- วัดธรรมมาสน์นักบุญเปโตร
- วัดตะล่อม
- วัดกำแพง
- วัดไชยฉิมพลี
- วัดมะพร้าวเตี้ย
- วัดโบสถ์อินทรสารเพชร
- วัดยางบางจาก
- วัดกำแพงบางจาก
- วัดวิจิตรการนิมิตร
- วัดโตนด
- วัดตะโน
- วัดนก
- วัดบางแวก
- วัดเพลง ภาษีเจริญ
- วัดจันทร์ประดิษฐาราม
- วัดรางบัว
- วัดปากน้ำฝั่งใต้
- วัดนาคปรก
- โรงพยาบาลและสถานสงเคราะห์
- ตลาด