Category Archives: สะพานพระพุทธยอดฟ้า
สะพานพระพุทธยอดฟ้า
สะพานพระพุทธยอดฟ้า is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address the keyword name in category.
สะพานพระพุทธยอดฟ้า (Phra Phuttha Yodfa Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เชื่อมการคมนาคมติดต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร ที่ปลายถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กับปลายถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี ปัจจุบันสะพานแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท
สะพานพระพุทธยอดฟ้า
สะพานพระพุทธยอดฟ้า | |
---|---|
สะพานพระพุทธยอดฟ้า
|
|
เส้นทาง | ถนนตรีเพชร, ถนนประชาธิปก |
ข้าม | แม่น้ำเจ้าพระยา |
ที่ตั้ง | แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี |
ชื่อทางการ | สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ |
เจ้าของ | กรมทางหลวงชนบท |
เหนือน้ำ | สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า |
ท้ายน้ำ | สะพานพระปกเกล้า |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประเภท | ชนิดเปิด – ปิดได้ (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นปิดตาย) |
วัสดุ | โครงเหล็กตลอด |
ความยาว | 229.76 เมตร |
ความกว้าง | 10.00 เมตร |
ความสูง | 7.30 เมตร |
ประวัติศาสตร์ | |
วันเริ่มสร้าง | 3 ธันวาคม พ.ศ. 2472 |
วันเปิด | 6 เมษายน พ.ศ. 2475[1] |
เขตธนบุรี
เขตธนบุรี
|
|
---|---|
คำขวัญ: เมืองอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน หลากถิ่นท่องงามตา วัดกัลยาณ์หลวงพ่อโต วัดบุคคโลพระพักตร์งาม กราบไหว้เจ้าตากสินวัดอินทาราม ลือนามงานอาชีพศิลปะไทย | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°43′30″N 100°29′9″E | |
อักษรไทย | เขตธนบุรี |
อักษรโรมัน | Khet Thon Buri |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 8.551 ตร.กม. (3.302 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 107,754[1] |
• ความหนาแน่น | 12,601.33 คน/ตร.กม. (32,637.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10600 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1015 |
ที่อยู่ สำนักงาน |
เลขที่ 160 ถนนเทอดไท แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th/thonburi |
เขตธนบุรี เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตอื่นเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่และเขตพระนคร มีคลองบางกอกใหญ่และแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคลองสาน มีสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ถนนประชาธิปก ถนนลาดหญ้า (บริเวณรอบวงเวียนอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และคลองบางไส้ไก่ เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางคอแหลมและเขตราษฎร์บูรณะ มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองดาวคะนองเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตจอมทองและเขตภาษีเจริญ มีคลองบางสะแก คลองแยกบางสะแก 13 คลองวัดใหม่ยายนุ้ย 1 (คลองศาลเจ้าต้นโพธิ์) และคลองด่านเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
เขตธนบุรีเดิมมีฐานะเป็นอำเภอชั้นในขึ้นกับกรมนครบาล ตั้งที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ของวัดราชคฤห์ จึงเรียกอำเภอนี้ว่า อำเภอราชคฤห์ (ปัจจุบันสำนักงานเขตย้ายมาตั้งอยู่บริเวณวัดเวฬุราชิณ) ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 ได้มีพระบรมราชโองการเปลี่ยนชื่ออำเภอราชคฤห์เป็น อำเภอบางยี่เรือ จังหวัดธนบุรี เนื่องจากมีที่ตั้งอำเภออยู่ในเขตตำบลบางยี่เรือ
ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการยุบจังหวัดธนบุรีรวมกับจังหวัดพระนครให้มีฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี ดังนั้น เพื่อรักษาคำว่า “ธนบุรี” ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงและเพื่อเฉลิมพระเกียรติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ประกอบกับอำเภอบางยี่เรือนี้เคยเป็นศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดธนบุรีด้วย จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอบางยี่เรือเป็น อำเภอธนบุรี ขึ้นกับนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตธนบุรี ขึ้นกับกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา
ครั้นในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ได้มีประกาศกรุงเทพมหานครเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงและตั้งแขวงใหม่ในเขตธนบุรี เนื่องจากผู้บริหารกรุงเทพมหานครมีนโยบายให้แบ่งแขวงขนาดใหญ่ให้ย่อยลง เพื่อความชัดเจนในการให้บริการของสำนักงานเขต โดยได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบุคคโล แขวงบางยี่เรือ และแขวงตลาดพลู นำมาจัดตั้งเป็นแขวงสำเหร่และแขวงดาวคะนอง
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขณะนั้น ได้ลงนามในประกาศจัดตั้งแขวงสำเหร่และแขวงดาวคะนอง แยกจากพื้นที่แขวงบุคคโล แขวงบางยี่เรือ และแขวงตลาดพลู เขตธนบุรี โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม ปีเดียวกัน[2] ทำให้ปัจจุบัน เขตธนบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
วัดกัลยาณ์ | Wat Kanlaya |
0.785
|
8,942
|
2,762
|
11,391.08
|
หิรัญรูจี | Hiran Ruchi |
0.691
|
12,252
|
3,966
|
17,730.82
|
บางยี่เรือ | Bang Yiruea |
1.523
|
21,201
|
7,968
|
13,920.55
|
บุคคโล | Bukkhalo |
1.210
|
17,198
|
12,980
|
14,213.22
|
ตลาดพลู | Talat Phlu |
1.823
|
15,561
|
8,071
|
8,535.92
|
ดาวคะนอง | Dao Khanong |
1.289
|
17,361
|
11,878
|
13,468.58
|
สำเหร่ | Samre |
1.230
|
15,239
|
8,612
|
12,389.43
|
ทั้งหมด |
8.551
|
107,754
|
56,237
|
12,601.33
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตธนบุรี[3] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ทางรถยนต์[แก้]
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตธนบุรี ได้แก่
- ถนนอิสรภาพ เชื่อมถนนประชาธิปก (สี่แยกบ้านแขก) กับสะพานเจริญพาศน์
- ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เชื่อมระหว่างวงเวียนใหญ่กับสะพานข้ามคลองดาวคะนอง
- ถนนอรุณอมรินทร์ เชื่อมระหว่างถนนประชาธิปกกับสะพานอนุทินสวัสดิ์
- ถนนมไหสวรรย์ เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน (สี่แยกมไหสวรรย์) กับสะพานกรุงเทพ
- ถนนรัชดาภิเษก เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน (สี่แยกมไหสวรรย์) กับสะพานตลาดพลู
- ถนนเจริญนคร เชื่อมระหว่างสะพานเจริญนคร 5 ถึงสะพานเจริญนคร 8
- ถนนประชาธิปก เชื่อมระหว่างวงเวียนใหญ่กับเชิงสะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
- ถนนวุฒากาศ เชื่อมถนนเทอดไท (สามแยกวุฒากาศ) กับสะพานข้ามคลองวัดใหม่ยายนุ้ย
- ถนนเทอดไท เชื่อมถนนอินทรพิทักษ์ (สามแยกบางยี่เรือ) กับสะพานข้ามคลองบางหลวงน้อย
- ถนนกรุงธนบุรี เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินกับสะพานข้ามคลองบางไส้ไก่
- ถนนราชพฤกษ์ เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินกับสะพานข้ามคลองบางหลวงน้อย
เขตธนบุรีมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 3 แห่ง ได้แก่
- สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เชื่อมระหว่างเขตธนบุรีกับเขตพระนคร
- สะพานพระราม 3 เชื่อมระหว่างเขตธนบุรีกับเขตบางคอแหลม
- สะพานกรุงเทพ เชื่อมระหว่างเขตธนบุรีกับเขตบางคอแหลม
ทางรถไฟ[แก้]
ใช้เส้นทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย จากสถานีรถไฟมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร
ทางบีอาร์ที[แก้]
ทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน[แก้]
แหล่งน้ำ[แก้]
แม่น้ำและลำคลองสายสำคัญในพื้นที่เขต ได้แก่
- แม่น้ำเจ้าพระยา
- คลองบางกอกใหญ่ (บางหลวง)
- คลองบางหลวงน้อย
- คลองบางน้ำชน
- คลองบางไส้ไก่
- คลองบางสะแก
- คลองสำเหร่
ชุมชน[แก้]
- ชุมชนกุฎีจีน ชุมชนของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส
- ชุมชนบ้านลาว ชุมชนของชาวไทยเชื้อสายลาวที่มีชื่อเสียงในการทำขลุ่ย
- ชุมชนตากสินสัมพันธ์